วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2555

โครงสร้างทางสังคม

ศาสตราจารย์ ดร. ประสาท หลักศิลา ได้เปรียบเทียบลักษณะโครงสร้างของสังคมมนุษย์ไว้เหมือนกับลักษณะโครงสร้างของบ้านแต่ละหลัง หมายความว่า สังคมมนุษย์แต่ละแห่งย่อมประกอบด้วยผู้คนที่มารวมกลุ่มกันมากมายหลายกลุ่มแต่ละกลุ่มต่างก็มีหน้าที่ที่แตกต่างกัน ทำนองเดียวกัน บ้านแต่ละหลังก็ต้องประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ คือ เสา หลังคา ฝา พื้น และอื่น ๆ ไม้แต่ละชิ้นและกระดานแต่ละแผ่นประกอบกันเข้าเป็นส่วนต่าง ๆ ของบ้านแต่ละหลัง เหมือนคนแต่ละคนเป็นส่วนหนึ่งของแต่ละกลุ่มลักษณะความสัมพันธ์ต่อกันของไม้แต่ละชิ้น ทำให้เราทราบว่า เป็นฝาหรือเป็นพื้น เช่นเดียวกัน การมารวมของแต่ละคนทำให้เราทราบว่า กลุ่มใดเป็นครอบครัว เป็นโรงเรียน เป็นร้านค้า หรือเป็นวัด ลักษณะความสัมพันธ์ต่อกันของส่วนต่าง ๆ ของบ้านทำให้เรามองเห็นรูปโครงของบ้านแต่ละหลัง ทำนองเดียวกัน โครงสร้างของสังคมมนุษย์แต่ละแห่งย่อมเห็นได้จากลักษณะความสัมพันธ์ต่อกันของกลุ่มต่าง ๆ ที่ประกอบกันเข้าเป็นสังคมมนุษย์ ตามทัศนะของศาสตราจารย์ ดร. ประสาท หลักศิลา โครงสร้างของสังคมมนุษย์ประกอบด้วยส่วนที่สำคัญดังต่อไปนี้

คน (Population)

สังคมมนุษย์ใดจะแข็งแรงเพียงไรหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่าง ๆ ดังกล่าวมาแล้วนี้ ถ้าสังคมใดประกอบด้วยประชากรที่มีพอเหมาะกับทรัพยากรธรรมชาติ มีความขยันขันแข็ง มานะอดทน กระตือรือร้นในการทำงาน มีเหตุผลและมีความรับผิดชอบงานในหน้าที่สูง สังคมนั้นย่อมมีโอกาสที่จะเจริญ ก้าวหน้าและผู้คนก็จะมีชีวิตอยู่อย่างมีความสุข

กลุ่มคน (Group)

ถ้าสังคมใดประกอบด้วยกลุ่มคนที่แต่ละกลุ่มต่างก็มี หน้าที่และรับผิดชอบงานในหน้าที่สูง เช่น กลุ่มนักศึกษาก็พยายามค้นคว้าหาความรู้เพื่อความเจริญงอกงามในด้านต่าง ๆ กลุ่มทางการปกครองทำหน้าที่รับผิดชอบงานในหน้าที่ของตนเป็นอย่างดี ฯลฯ สังคมนั้นย่อมดำรงอยู่เป็นปึกแผ่นและมั่นคงถาวร

สถาบันสังคม (Social Institution)

ถ้าสังคมใดมีสถาบันหรือมีแบบอย่างการกระทำเพื่อให้ถึงซึ่งจุดมุ่งหมายอย่างใดอย่างหนึ่งที่ดีและเหมาะสม ที่จะใช้กับสังคมนั้น ย่อมจะนำให้สังคมนั้น ๆ ดำเนินสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สถานภาพและบทบาท (Status and Role)

ถ้าสังคมใดมีการจัดระเบียบสังคมที่ดีมีระเบียบแบบแผนที่คนในสังคมยึดถือเป็นแนวปฏิบัติที่เหมาะสมและคน แต่ละสถานภาพหรือตำแหน่งปฏิบัติหน้าที่หรือแสดงบทบาทของตนได้ถูกต้องและเหมาะสมกับตำแหน่งของตน สังคมนั้นย่อมก้าวหน้าไปได้รวดเร็วและไม่เกิดปัญหาสังคมขึ้น

ดังนั้น สังคมที่จะเจริญก้าวหน้านั้น ต้องมีคนในสังคมมีคุณภาพ กลุ่มคนที่สามัคคี มีความรับผิดชอบในหน้าที่ตำแหน่งของตนและมีการจัดระเบียบที่ดี



ลักษณะของสังคม

ลักษณะทั่วไปของสังคม (General Characteristic of Society)
สังคมเป็นนามธรรม (Abstractness of Society)
สังคมได้ถึงความสัมพันธ์ของคนในสังคม ซึ่งเป็นเพียงชื่อกล่าวว่า “สังคมเป็นสิ่งไม่มีชีวิต แต่เป็นแนวทางปฏิบัติของสิ่งมีชีวิต คือ วิธีการของการคบหาสมาคมกัน ซึ่งหมายถึง สภาพหรือความสัมพันธ์อันเหมาะสม นั่นคือ สังคมเป็นเพียงนามธรรม”

การพึ่งพาอาศัยกันมีอยู่ในสังคม (Interdependence in Society)
ในสังคมแต่ละบุคคลต้องพึ่งพาอาศัยกันในฐานะเป็นสมาชิกของสังคม กล่าวว่า “ประวัติศาสตร์มนุษยชาติในแง่หนึ่ง คือ ประวัติของความก้าวหน้าของการจัดระเบียบในการทำงานร่วมกันของแต่ละคนในสังคม เพื่อความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายอันเดียวกัน”

สังคมเกี่ยวข้องกับความเหมือนและความแตกต่างกัน (Society Involves Likeness and Difference)
สมาชิกทั้งหมดในสังคมไม่เหมือนกัน ในท้องถิ่นต่าง ๆ พวกเขามีความแตกต่างกัน ดังนั้น สังคมจึงเกี่ยวข้องกับความเหมือนกันและความ แตกต่างกัน ตามความเห็นของ การแสดงออกที่เป็นนามธรรมของพวกแต่ละคนที่ปรากฏชัด คือ ความเหมือนกันและแตกต่างกันทางด้านสังคมวิทยาและจิตวิทยา สรุปเข้าใจง่าย ๆ การพึ่งพาอาศัยกันอันหนึ่ง คือ ความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น

สังคมมีทั้งการร่วมกันและการขัดแย้งกัน (Society Involves Both Co-operation and Conflict)
สังคมไม่ใช่ว่าจะมีแต่การร่วมมือกันหรือขัดแย้งกันอย่างใดอย่างหนึ่ง สังคมมีทั้ง 2 อย่างทั้งการร่วมมือกันและการขัดแย้งกันซึ่งจะเห็นได้ชัด มองในฐานะเป็นพฤติกรรมของมนุษย์ที่แสดงในการติดต่อกันและการปรับปรุงตัวให้ข้อสังเกตว่า “การร่วมมือกันเป็นวิธีการอันสำคัญของสังคมมนุษย์ หากปราศจากการร่วมมือกันแล้ว สังคมก็อยู่ไม่ได้ ในมุมกลับกัน มันก็มีการขัดแย้ง เกิดขึ้นในสังคม เมื่อสิ่งที่คนสนใจร่วมกันถูกสรุปลงอย่างไม่กลมกลืนกัน การขัดแย้ง มีอยู่ในทุกสังคม เพราะทุกคนจะมีชีวิตอยู่ได้ก็ด้วยการต่อสู้เท่านั้น”

ความหมายของสังคม

เสถียรโกเศส ให้ความหมายไว้ว่า “มนุษย์ที่รวมกันอยู่เป็นหมู่คณะ ที่มีทั้งหญิงและชาย ตั้งภูมิลำเนาเป็นหลักแหล่ง ณ ที่ใดที่หนึ่งเป็นประจำเป็นเวลานานพอสมควร พอเรียนรู้และปรับปรุงตนเองแต่ละคนได้และประกอบการงานเข้ากันได้ดี มีความสนใจร่วมกันในสิ่งอันเป็นมูลฐานแห่งชีวิต มีการครองชีพ ความปลอดภัยทางร่างกายก็เป็นส่วนหนึ่งของส่วนรวม มนุษย์ที่ร่วมกันเป็นคณะตามเงื่อนไขที่กล่าวมานี้ เรียกว่า “สังคม”

ตามความเห็น ดร. ประสาท หลักศิลา “สังคม คือ การที่มนุษย์พวกหนึ่ง ๆ ที่มีอะไรส่วนใหญ่เหมือนหรือคล้ายคลึงกัน เช่น ทัศนคติ คุณธรรม ธรรมเนียมประเพณี ได้มาอยู่รวมกันด้วยความรู้สึกเป็นพวกเดียวกัน มีความสัมพันธ์กันและมาอยู่ในเขต เดียวกันอย่างถาวร”

ตามความเห็น “สังคมอาจให้คำจำกัดความว่า ในฐานะเป็นกลุ่มของประชาชนที่อาศัยอยู่รวมกันเป็นเวลานานพอที่มีการจัดระเบียบร่วมกันและเห็นว่าพวกเขาแตกต่างไปจากกลุ่มอื่น”

ตามความเห็นขอ“สังคม คือ สมาคม, การจัดระเบียบ, ผลของความสัมพันธ์กันอย่างมีระเบียบที่แต่ละคนได้ก่อตั้งขึ้นร่วมกัน”

ตามความเห็นของ “สังคม คือ การรวมกลุ่มของบุคคลที่ก่อตั้งขึ้นโดยการสัมพันธ์อันมั่นคง หรือแบบอย่างแห่งพฤติกรรมที่ทำให้พวกเขาแตกต่างไปจากลุ่มอื่นเป็นในรูปของความสัมพันธ์กัน หรือผู้อื่นแตกต่างไปจากพวกเขาในเรื่องของพฤติกรรม”